หลักการติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์
ก่อนที่จะติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ จะต้องเตรียมพื้นให้เรียบ ได้ระดับ และ แข็งแรง เช่น พื้นปูนขัดมัน หรือ ขัดหยาบที่เรียบ เนื้อปูนต้องแน่น ไม่หลุดร่อน ไม่เป็นแอ่ง หรือ โก่งนูน และไม่มีความชื้น นอกจากนั้น พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ยังสามารถติดตั้งทับพื้นกระเบื้องเดิม หรือ พื้นแกรนิโตเดิม ที่ไม่เสียหาย (คือไม่แตก หลุด ร่อน) หรือ ติดตั้งทับ Smart Board หรือ พื้นไม้อัด ได้อีกด้วย ที่ต้องเน้นว่าเป็นพื้นปูน หรือ พื้นที่เรียบได้ระดับก็เนื่องจาก ไม้เอ็นจิเนียร์ ที่ผลิตออกมาจากโรงงานนั้น เป็นแผ่นไม้ที่เรียบ ตรง ดั้งนั้น หากนำ ไม้เอ็นจิเนียร์ มาติดตั้งทับพื้นที่เป็นแอ่ง เวลาเดินจะรู้สึกยวบ และอาจเกิดเสียงขึ้นได้เป็นต้น
เนื่องจากพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ของดับเบิลฟลอร์ ได้ผ่านกระบวนการอบ และ เรียงไส้ไม้ยางพารามาอย่างดีแล้ว โดยมีการเว้นช่องไฟของไส้ไม้ยางพาราเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก โดยไส้ไม้ยางพาราหนาถึง 10 มิลลิเมตร จึงทำให้มีการยืดหดขยายตัวของ พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ต่ำมาก อีกทั้งความหนาของผิวหน้าไม้จริง ที่นำมาผลิตเป็นพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ไม่ว่าจะเป็นไม้โอ้ค ไม้แอช ไม้บีช ไม้เชอรี่ ไม้เมเปิ้ล ไม้วอลนัท ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้แดง ไม้เมอเบาว์ ไม้แคมปัส และอื่นๆ ยังมีความหนาสูงถึง 3 มิลลิเมตร จึงมีความแข็งแรงอย่างมาก ประกอบกันเป็นพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ที่มีความหนา 13 มิลลิเมตร ดังนั้นพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ของดับเบิลฟลอร์ จึงสามารถติดตั้งได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และ สภาพหน้างาน โดยการติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ แต่ละแบบมีข้อดี และ ข้อเสียต่างกันไป ดังต่อไปนี้
- การติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ แบบลอยตัวบนฟิล์มโฟมรองพื้น หรือ โฟมดำ บน พื้นปูน ที่เรียมไว้ เหมือนกับการติดตั้งพื้นไม้ลามิเนตที่กล่าวมาในบทความ เรื่องการติดตั้งพื้นไม้ลามิเนต กล่าวคือให้ปูฟิล์มโฟมรองพื้นขนาดความหนา 2 มิลลิเมตรก่อน แล้วจึงติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ทับบนฟิล์มโฟมรองพื้นอีกครั้งหน่ึง โดยการติดตั้งแบบเข้าลิ้น
- ข้อดีของการติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ในลักษณะนี้ คือ ติดตั้งง่าย ไม่ต้องใช้กาว ดั้งนั้นในอนาคตหากต้องการรื้อพื้นไม้ออก หรือต้องการซ่อมแซมก็สามารถทำได้โดยง่ายเช่นเดียวกัน หรือ กรณีที่เป็นการติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ทับพื้นหินขัดเดิม หรือ พื้นกระเบื้องเดิม ก็ไม่ทำให้พื้นเดิมเสียหายอีกด้วย
- ข้อเสีย คือความรู้สึกเมื่อเดินบนพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ที่ติดตั้งแบบลอยตัวบนฟิล์มโฟมรองพื้นคือ ความรู้สึกตอนเดินอาจรู้สึกว่าไม่แน่นเท้า คล้ายกันกับเดินบนพื้นไม้ลามิเนต อีกทั้งอาจรู้สึกถึงความยวบของพื้นกรณีที่พื้นปูนไม่เรียบได้ระดับอีกด้วย
- การติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ด้วยกาวบน พื้นปูน พื้นกระเบื้อง พื้นไม้อัด หรือ พื้น Smart Board ที่เรียบได้ระดับ และ ไม่มีความชื้น โดยกาวที่ใช้ในการติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ที่เหมาะสมคือกาวโพลียูริเทน (Polyurethane) เนื่องจากเป็นกาวที่มีความยืดหยุ่นสูงมาก มีความแข็งแรง และ อายุการใช้งานยาวนาน โดยการติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์นั้นสามาถปูชิดผนังได้มากกว่าพื้นไม้ลามิเนต เนื่องจากอัตราการขยายตัวของพื้นไม้เอ็นจิเนียร์นั้น น้อยกว่าพื้นไม้ลามิเนตอยู่หลายเท่า
- ข้อดีของการติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ด้วนกาวโพลียูริเทนคือ ลดเสียงกระทบ และจะรู้สึก แน่นเท้าเวลาเดิน ความรู้สึกจะเหมือนเดิมบนปาร์เก้ไม้จริง หรือไม้จริงเลยครับ
- ข้อเสียของการยึดพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ด้วยกาวพียู บนพื้นปูน พื้นไม้อัด หรือ พื้นกระเบื้อง คือ จะรื้อยาก เนื่องจากกาวมีคุณสมบัติยึดติดแน่นมาก และ ยืดหยุ่นสูงมาก
- กรณีที่ติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ทับบนพื้นไม้อัด หรือ พื้นสมาร์ทบอร์ดนั้น สามารถปูแบบลอยตัวได้ คือ รองด้วยฟิล์มโฟมรองพื้นบนพื้นไม้อัดก่อน แล้วจึง ตามด้วยไม้เอ็นจิเนียร์โดยการยิงแม็กเข้าร่องลิ้นของพื้นไม้เอ็นจิเนียร์เข้าไปยึดกับพื้นไม้อัด ได้เช่นเดียวกัน การติดตั้งลักษณะนี้ จะทำให้รู้สึกแน่นเท้าขึ้น เมื่อเทียบกับการติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์แบบลอยตัวบนพื้นปูน (แบบที่ 1 ไม่สามารถยิงลูกแม็กเข้าร่องลิ้นได้ เนื่องจากพื้นปูนมีความแข็ง) หรือ หากต้องการความแน่นมากขึ้นอีกระดับ อาจใช้การรองฟิล์มโฟมรองพื้นบนพื้นปูนที่เรียบได้ระดับก่อน แล้วจึงตามด้วยไม้อัด หรือ สมาร์ทบอร์ด ยึดกับพื้นปูน และ ตามด้วยพื้นไม้เอ็นจิเนียร์โดยการติดตั้งแบบกาวโพลียูริเทนก็ได้เช่นเดียวกัน
บทความโดย บริษัท ดับเบิลฟลอร์ จำกัด – ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย พื้นไม้ทุกชนิด พร้อมติดตั้ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เรื่องพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ – คุณสมบัติ และ หลักการติดต้ัง โทร 02-398-6896, 02-398-2228,
Line ID: @DoubleFloor