พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ -VS- พื้นไม้จริง

พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ คืออะไร ต่างกับพื้นไม้ Solid อย่างไร? (Solid VS Engineered Hardwood Flooring)

ลูกค้ามักมีคำถามว่า พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ (Engineered Hardwood Flooring) คืออะไร แตกต่างกับ พื้นไม้จริง (Solid Hardwood Flooring) อย่างไร? ดับเบิลฟลอร์ จะอธิบายถึงความแตกต่างในหลายๆด้านให้เข้าใจง่ายๆดังนี้ครับ

1. ส่วนประกอบ (Composition)

flooring composition

จากรูปผ่าข้างของพื้นไม้จริง (Solid Hardwood Flooring) และ พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ (Engineered Hardwood Flooring) แสดงให้เห็นถึงส่วนประกอบของพื้นไม้ทั้งสองอย่างชัดเจน พื้นไม้จริงเกิดจากการนำท่อนไม้มาสไลต์ให้เป็นแผ่น หนาประมาณ 13-21 มิลลิเมตร และผ่านกระบวนการไสผิวหน้าให้เรียบ และ ทำร่องลิ้น และ เคลือบยูวี ก่อนที่จะออกมาเป็นพื้นไม้สำหรับปูพื้นบ้าน

แต่สำหรับ พื้นไม้เอ็นจิเนียร์นั้น จะเป็นการนำท่อนไม้มาตัดให้เป็นแผ่นบางกว่า โดยมีความหนาประมาณ 3  มิลลิเมตร แล้วนำมาประกบกับไม้เนื้อแข็ง หรือ ไม้ยางพารา ที่ชุบสารกันแมลง เพื่อให้มีความคงทน และมีการยืดหดขยายตัวต่ำ ก่อนที่จะไปทำร่องลิ้น และ เคลือบผิวหน้าด้วยยูวี และกระบวนการอื่นๆ ก่อนที่จะออกมาเป็นพื้นไม้เอ้นจิเนียร์สำเร็จรูปสำหรับปูพื้นบ้าน

พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ของ ดับเบิลฟลอร์

โดยพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ของ ดับเบิลฟลอร์ จะประกอปไปด้วย 3 ส่วน ดังนี้

1. ชั้นบนสุด เป็นผิวหน้าหน้าไม้ที่อยู่ชั้นบนสุด มีความหนาประมาณ 3 มม. เป็นการนำไม้จริง อาทิเช่น
ไม้โอ๊ก (Oak) ไม้แอ๊ส (Ash) ไม้แดง ไม้มะค่า (Jatoba) ไม้เมอร์เบาว์ (Merbau) ไม้บีช (Beech) ไม้เมเปิ้ล (Maple) ไม้เค็มปัส (Kempas) หรือ ไม้สัก (Teak) มาใช้เป็นต้น
2. ไม้ชั้นกลางมีความหนาประมาณ 8 มม. เป็นชั้นไม้ยางพารา
3. ไม้ชั้นล่าง มีความหนาประมาณ 2 มม. เป็นชั้นไม้วีเนียร์

2. ราคา (Price)

เมื่อเปรียบเทียบ พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ กับ พื้นไม้จริงประเภทเดียวกัน (คือไม้โอ้คเช่นเดียวกัน หรือ ไม้สักเหมือนกัน) ที่ความกว้าง และ ความยาวเท่ากันนั้น ไม้เอ็นจิเนียร์จะมีราคาที่ถูกกว่ามาก เนื่องจากผิวหน้าไม้ของพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ มีความหนาน้อยกว่าพื้นไม้จริง ราคาจึงถูกกว่าพื้นไม้จริงอยู่มาก แต่ความแข็งแรงคงทนของพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ไม่ได้ด้อยไปกว่าพื้นไม้จริงเลยละครับ เนื่องจากส่วนประกอบชั้นกลางและชั้นล่างของพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ เป็นไม้ที่มีการยืดหดขยายตัวต่ำ จึงทำให้มีความแข็งแรง และดูแลรักษาง่ายกว่าพื้นไม้จริงครับ

3. การติดตั้ง (Installation Method)

พื้นไม้จริง : การติดตั้งพื้นไม้จริงนั้น สามารถทำได้หลายวิธี สมัยก่อนจะเป็นการวางพื้นไม้บนตง สมัยปัจจุบันจะใช้ไม้อัดวางบนพื้นซีเมนต์ และ ยึดไม้จริงบนไม้อัด หรือ อาจติดตั้งด้วยกาวบนพื้นปูนเลยก็ได้เช่นกัน แต่กาวที่ใช้จะต้องเป็นกาว PU แบบไม่มีความชื้น (แต่กาวชนิดนี้จะมีราคาสูง) มิฉะนั้นความชื้นจากกาวธรรมดาจะทำให้ไม้เกิดความเสียหายต่อไม้ได้

พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ : สำหรับ การติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ สามารถติดตั้งได้หลายวิธีเช่นเดียวกัน ได้แก่ 1. ติดตั้งแบบลอยบนฟิล์มโฟมรองพื้น 2. ติดตั้งด้วยการยึดพื้นไม้เอ็นจิเนียร์เข้ากับไม้อัดรองพื้น และ 3. ติดตั้งด้วยกาวบนพื้นซีเมนต์ (สามารถใช้กาวธรรมดา หรือ กาว PU ชนิดไร้ความชื้นติดตั้ง พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ได้) ซึ่งสำหรับวิธีการติดตั้งที่ต่างๆกันนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นหน้างาน ว่าเรียบได้ระดับเพียงใด และความเหมาะสม โดยทีมช่างผู้ชำนาญจะเป็นผู้ประเมินว่าพื้นที่แต่ละแบบเหมาะสมกับการติดตั้งพื้นไม้ หรือ พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ด้วยวิธีใด

4. การขัดทำสี (Sanding and Refinishing)

พื้นไม้จริง : สามารถขัดทำสีพื้นไม้จริง ได้บ่อยครั้ง เนื่องจากเนื้อไม้มีความหนามาก

พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ : สามารถขัดทำสีได้บ่อยครั้งแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความหนาของผิวหน้าของพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ (พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ในท้องตลาดมีความหนาของผิวหน้าตั้งแต่ 0.5 มิลลิเมตร ไปถึง 4 มิลลิเมตร แต่ความหนาที่เหมาะสมควรอยู่ที่ประมาณ 2 – 4 มิลลิเมตร จะเป็นผิวหน้าไม้ที่มีความแข็งแรงมาก)

จะเห็นได้ว่า ไม้เอ็นจิเนียร์ ก็คือการนำไม้จริงมาสไลต์ผิวหน้า แล้วประกบกับไม้เนื้อแข็ง หรือไม้ยางพารา เพื่อประโยชน์หลายๆด้าน ได้แก่ ลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้ไม้ลง และ เพิ่มความแข็งแรงให้กับไม้ เนื่องจากพื้นไม้เนื้อแข็งที่รองผิวหน้านั้นจะมีการยืดหดขยายตัวต่ำ ดั้งน้ันเมื่อนำไปติดตั้งแล้ว จะไม่มีปัญหาโก่งตัวครับ

ข้อควรรู้ในการเลือกซื้อพื้นไม้เอ็นจิเนียร์

จากที่กล่าวมาข้างต้น ลูกค้าพอจะทราบแล้วว่าพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ คือการนำหน้าไม้ที่ลูกค้าชอบ อาทิ ไม้โอ้ค ไม้เมเปิ้ล ไม้บีช ไม้มะค่า ไม้สัก ไม้วอลนัท และ ไม้ชนิดอื่นๆ มาประกบกับไม้เนื้อแข็ง ดังนั้นจุดสังเกตคือ ความหนาของผิวหน้าไม้ชั้นบน โดยปกติแล้วความหนาของหน้าไม้ควรจะอยู่ที่ 2-3 มิลลิเมตร จะทำให้พื้นไม้เอ็นจิเนียร์มีความแข็งแรงมาก และสามารถขัดทำสีได้หลายรอบ ในกรณีที่ผิวหน้าไม้เป็นรอยหลังการใช้งานไปแล้วหลายปี แต่หากหน้าไม้บางกว่านี้เช่น หน้าไม้หนาเพียง 0.6 มิลลิเมตร (ความหนายังไม่ถึง 1 มิลลิเมตร) ก็จะไม่สามารถขัดทำสีใหม่ได้เลย

ในเรื่องของความแข็งแรงคงทนของพื้นไม้เอ็นจิเนียร์นั้น ไม้เอ็นจิเนียร์ที่มีความหนาของผิวหน้าไม้ที่น้อยกว่า ย่อมแข็งแรงน้อยกว่า พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ที่มีความหนาของผิวหน้าไม้ที่มากกว่าครับ นี่แหละครับคือคำอธิบายว่า ทำไมโรงงานหนึ่งขายพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ชนิดเดียวกันได้ถูกกว่าอีกโรงงานหนึ่ง ยังไงละครับ

ข้อดีของพื้นไม้เอ็นจิเนียร์

1. ลดการใช้ไม้จริงได้ถึง 5 เท่า เนื่องจากใช้ไม้จริงเฉพาะผิวหน้าไม้
2. ส่วนประกอบชั้นล่างของไม้คือไม้ยางพารา ผ่านกระบวนการอบ และ ชุบน้ำยากันแมลง ที่มีความปลอดภัย จึงมีความแข็งแรงคงทนสูง
3. พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ทำสีสำเร็จจากโรงงาน จึงไม่เสียเวลาทำสีหน้างาน ไม่ต้องขัดที่หน้างาน ทำให้ไม่มีฝุ่นที่หน้างาน ยิ่งไปกว่านั้น การเคลือบผิวหน้าไม้ของ พื้นไม้เอ็นจิเนียร์จากโรงงานนั้น ทำให้ผิวหน้ามีความแข็งแรงมากกว่าการมาเคลือบที่หน้างาน เนื่องจากกระบวนการเคลือบผิวหน้าจากโรงงานจะผ่านกระบวนการเคลือบด้วยยูวีแล้ว
4. พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ติดตั้งรวดเร็ว
5. พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ สามารถฟอกสี ย้อมสี และ ปัดเสี้ยนได้ เพื่อเพิ่มความหลากหลายในงานออกแบบที่สวยงาม มีความเป็นธรรมชาติ แข็งแรงทนทานต่อการใช้งาน
6. โรงงานพื้นไม้เอ้นจิเนียร์ของเรา สามารถผลิตพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ สำหรับติดตั้งแบบลายก้างปลาได้ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน
7. โรงงานผลิตพื้นไม้เอ้นจิเนียร์ของเรา สามารถแปรรูป ผลิตพื้นไม้ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น แบบความกว้าง 4 นิ้ว, 5 นิ้ว, 8 นิ้ว และแบบลายปาร์เก้ 3 แถว, แบบ multi strip เป็นต้น ซึ่งเป็นการสร้างความสวยงามอย่างหลากหลาย

(ดูสินค้า ► พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ของดับเบิลฟลอร์)

ตัวอย่างงานติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์

ไม้โอ้ค (Oak Wood Flooring)

ไม้โอ้ค (Oak Wood Flooring) ย้อมสี Walnut ติดต้ังลายก้างปลา (Herringbone)

Oak Wood Dye Walnut Fishbone

ไม้บีช (Beech Wood Flooring)

ไม้อิโลโก้ หรือ ไม้สัก แอฟริกา (IROKO Wood Flooring)

Iroko

ไม้วอลนัท เกรด Classic (Classic Walnut Wood Flooring)

Walnut-Wood-Flooring

ไม้เมเปิ้ล เกรด Nature (Nature Maple Wood Flooring)

Maple-Wood-Flooring
ไม้มะค่า (Jatoba Wood Flooring)

Jatba

ไม้แอช (Ash Wood Flooring)

ash-wood-flooring

บทความโดย บริษัท ดับเบิลฟลอร์ จำกัด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 02-398-6896, 02-398-2228, 089-158-6341